๙ วัน
"สถาปัตย์ฯ สัญจร"
9 Days trip
Faculty of Architecture
KMITL
"สถาปัตย์ฯ สัญจร"
9 Days trip
Faculty of Architecture
KMITL
๑ วันก่อนไปจริง...
Pre Trip
"บ้านท่านอาจารย์ทรงชัย ณ บ้านเขาแก้ว สระบุรี"
Baan Khao Keaw , Saraburi
หลังจากที่นั่งรถแบบหลับๆตื่นๆ ผ่านถนนในตัวเมืองสระบุรี เข้าสู่ถนนลาดยางมะตอย
ด้านซ้ายเป็นแม่น้ำป่าสัก ด้านขวาเป็นทุ่งนาสลับกับเถียงนา หุ่นไล่กา และบ้านเรือน
รถจอดให้เข้าชมบ้านของท่านอาจารย์ทรงชัย วรรณกุล เราจะพบกับแนวพุ่มไม้สีเขียว
ซึ่งเป็นรั้วธรรมชาติ ทางเข้าบ้านเป็นซุ้มประตูไม้ที่สอดแทรกอยู่กับแนวพุ่มไม้นั้น ทำให้
เมื่อเดินผ่านซุ้มประตู ความรู้สึกที่เกิดขึ้นคือ "space" ของ "ลานดิน" ขนาดใหญ่
ทางเดินไม้ที่ปูอย่างไม่พิถีพิถันนัก แต่เป็นการจัดวาง "องค์ประกอบ" ที่ลงตัว
สิ่งที่สำคัญในบ้านหลังนี้คือ การนำสภาพแวดล้อม ที่มีอยู่โดยรอบ มาผสมผสาน
กับตัวอาคารได้อย่างกลมกลืน และไม่เบียดเบียนธรรมชาติ การปลูกเรือนโดยไม่ตัดไม้
ทำให้เกิดความสอดคล้องกับธรรมชาติ เพิ่มความเย็นสบายมากขึ้น โดยการขุดบ่อน้ำ
"หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน"
เมื่อเดินออกจากเรือนไทยที่แสนจะร่มรื่นแล้ว ฝั่งตรงข้ามจะพบกับ หมู่เรือนไทยแบบล้านนา
ซึ่งออกแบบโดยท่านอาจารย์ทรงชัยเช่นกัน หมู่เรือนไทยนี้ ถูกดัดแปลงให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
ซึ่งเป็นพื้นที่ลาดเอียงริมแม่น้ำป่าสัก อาคางจึงวางตัวโดยไล่ระดับกันลงไป และถูกปรับตำแหน่ง
เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ซึ่งสูงขึ้นทุกที ทำให้ระดับของเรือน แตกต่างกัน และสูงกว่าระดับแม่น้ำ
แต่ภูมิปัญญาอย่างหนึ่งของชาวบ้าน ที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม คือ
การสร้างเรือนแพ ที่จะลอยน้ำเสมอ ไม่ว่าน้ำจะสูงเพียงใด และเคลื่อนย้ายได้สะดวก
เรือนแพ ที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ มีลมจากแม่น้ำพัดผ่าน ทำให้เรือนเย็นสบายอยู่ตลอดเวลา
"การที่ได้ไปสัมผัส สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบไทยวน ในวันนี้ ทำให้คิดได้ว่า
ภูมิปัญญาไทยต่าง ๆ เกิดขึ้นนั้น ชาวบ้านในสมัยก่อน ได้คิดค้นขึ้นมา
จากการใช้ชีวิตของคนไทย ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของไทย"
"VERNACULAR ARCHITECTURE TRIP 2554"
แต่ภูมิปัญญาอย่างหนึ่งของชาวบ้าน ที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม คือ
การสร้างเรือนแพ ที่จะลอยน้ำเสมอ ไม่ว่าน้ำจะสูงเพียงใด และเคลื่อนย้ายได้สะดวก
เรือนแพ ที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ มีลมจากแม่น้ำพัดผ่าน ทำให้เรือนเย็นสบายอยู่ตลอดเวลา
"การที่ได้ไปสัมผัส สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบไทยวน ในวันนี้ ทำให้คิดได้ว่า
ภูมิปัญญาไทยต่าง ๆ เกิดขึ้นนั้น ชาวบ้านในสมัยก่อน ได้คิดค้นขึ้นมา
จากการใช้ชีวิตของคนไทย ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของไทย"
"VERNACULAR ARCHITECTURE TRIP 2554"
วันแรกของการเดินทาง
๑๕.๐๗.๑๑
Frist day
"อุทัยธานี"
U THAI THANI
การเดินทางของนักศึกษาชั้นปีที่ ๕ ได้เริ่มขึ้น รถบัสของคณะสถาปัตย์ และรถของคณะวิศวะฯ
พาเราไปแวะที่จังหวัด อุทัยธานี ในตัวเมืองที่มีลักษณะเป็นชุมชนและบ้านไม้เก่า ถนนที่ตัดกัน
จนเป็นหลายแยก รถที่วิ่งสวนกันไปมา ซึ่งเป็นจุดเด่นของหัวเมืองตามต่างจังหวัดในสมัยก่อน
Waterfront community
หลังจากขึ้นรถกันหมด ล้อก็หมุนอีกครั้ง ทุกคนในรถหลับไปตลอดทาง จนรถมาหยุดที่
ริมแม่น้ำสะแกกรัง เราจะเห็นบ้านเรือนแพ ลอยอยู่บนผิวน้ำ เลาะขอบแม่น้ำยาวเหยียด
หลังจากที่ฟังอาจารย์จิ๋ว ( รศ. วิวัฒน์ เตมียพันธุ์ ) บรรยายถึงวิถึชีวิตของผู้คนริมน้ำ
การสร้างบ้านเรือนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอาศัยสภาพแวดล้อมที่มีความเป็น
ธรรมชาติที่สวยงาม อย่างไม่ต้องปรุงแต่ง... เราเดินถ่ายรูปเรือนแพและบรรยากาศ
มีครอบครัวหนึ่ง พ่อ แม่ ลูก เดินผ่านเราไปยืนบนแพเล็กๆ ดึงเชือกที่ผูกกับแพไว้ แล้ว
แพเล็กๆ นั้น ก็ค่อยๆ เคลื่อนเข้าไปหาเรือนแพหลังใหญ่ และนี่ก็คืออีกหนึ่งภูมิปัญญา
ที่แฝงความทันสมัย และความฉลาดคิดค้นวิธีง่ายๆแต่สะดวก ที่ช่วยในการดำรงชีวิต
"เราสามารถประยุกต์ภูมิปัญญาจากเรือนแพของแบบดั้งเดิม มาปรับเปลี่ยนให้มีความเป็นสมัยใหม่
เพื่อนำไปออกแบบสถาปัตยกรรม อย่างรีสอร์ทแบบโฮมสเตย์ แต่ก็ยังคงภาษาของชาวบ้านเอาไว้"
(รศ. วิวัฒน์ เตมียพันธุ์)
วันที่สอง
๑๖.๐๗.๑๑
day 2
จากอุทัยธานี เรานั่งรถตรงเข้าจังหวัดลำปางในตอนดึก เข้าพักที่โรงแรม MR Palace
ทุกคนตื่นเช้า ด้วยความกระปรี้กระเปร่า เพราะเป็นแค่วันที่ 2 ของการเดินทางเท่านั้น
เราเติมพลังด้วยข้าวซอยไก่ หมูสะเต๊ะ ที่มีขายหลายร้านในจังหวัดลำปางจนงงว่า
อาหารชนิดนี้เป็นของภาคใดกันแน่ หลังจากอิ่มท้องเราก็เดินทางไปที่แรกในลำปาง คือ
"วัดศรีรองเมือง จังหวัดลำปาง"
WAT SRI RONG MUANG , LAM PANG
WAT SRI RONG MUANG , LAM PANG
ทุกคนหยุดยืนเบื้องหลังท่านอาจารย์จิ๋ว ที่กลางประตูทางเข้าวัด สิ่งที่สังเกตเห็นคือ วัดที่หน้าตารูปทรง
ประหลาดแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งเป็นวัดแบบล้านนา แต่ได้อิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบพม่า
ด้วยหลังคาจั่วที่มีสีสันสวยงาม และยอดแหลมถึง ๙ ยอด ซ้อนชั้นลดหลั่นลงมาถึงผนังไม้ ที่ด้านใน
ที่มีตกแต่งประดับประดาด้วยกระจกสีที่งดงาม และฐานด้านล่างของอาคารซึ่งเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูน
เราเดินตามท่านอาจารย์จิ๋วไปรอบๆวัด สังเกตได้ถึงความร่มรื่นของต้นไม้ ที่ส่วนใหญ่เป็นต้นมะพร้าว
ต้นตาล ต้นสัก ต้นไม้สูงใหญ่ที่ด้านล่างโล่ง ทำให้เกิด space ของสวนที่เขียวขจีเพราะหญ้ามอสขึ้น
"วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม จังหวัดลำปาง"
WAT PHRA KAEW DON TAO SUCHADARAM , LAM PANG
วัดที่สองในลำปาง เรานั่งฟังบรรยายกันนานพอสมควร ท่านอาจารย์จิ๋วเล่าถึงประวัติความเป็นมา
ของวัดสุชาดารามและสถาปัตยกรรมของวัดแบบล้านนาตั้งแต่แรกเริ่ม ที่เกิดจากการยึดครองของ
ประเทศอังกฤษ มีพ่อค้าเข้ามาทำการค้าขาย เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าในชุมชนใหญ่ ทำให้มีการ
สร้างวัดสุชาดาขึ้นมา ซึ่งเป็นวัดแบบล้านนาผสมผสาน โดยโครงสร้างไม้แบบขื่อ องค์ระฆัง ฉัตร
การลดชั้นของหลังคาทรงลำยองใหญ่ ด้านหน้า ๓ ชั้น เรียกว่า "ม้าต่างไหม" ด้านหลัง ๒ ชั้น
โครงสร้างนี้เป็นของล้านนา ส่วนรายละเอียดของบัว ซุ้มทิศ มีการดัดแปลงรายละเอียดแบบพม่า
และช่อฟ้ามีที่วัดสุชาดารามเพียงวัดเดียวที่นำ "ช่อฟ้าสุโขทัย" มาผสมผสาน สรุปโดยรวมคือ
วัดนี้มีการเชื่อมโครงสร้างไม้กับอิฐ และมีทั้งสถาปัตยกรรมแบบ ล้านนา พม่า และสุโขทัย
"วัดข่วงกอม จังหวัดลำปาง"
WAT KHUANG KOM , LAM PANG
วัดที่สามในจังหวัดลำปาง เรามาพักทานอาหารกลางวันกันที่วัดนี้ จุดเด่นของวัดก็คือ "วิหารคด"
ที่อยู่โดยรอบ "ลานทราย" ที่เป็นตัวขับให้อุโบสถเด่นชัดขึ้น การใช้วัสดุ สีที่เข้ากัน เกิดสีที่สบายตา
และบริเวณโดยรอบของวัด เป็นกลุ่มบ้านแบบพื้นเมือง ที่มีการทำสวน สวนผสม ลาน และท้องนา
รวมกันเป็น "Cultural Landscape" แบบ Domestic scale ที่เกิดขึ้นจากจิตสำนึกของชาวบ้าน
"ความเป็นรากเหง้า คือ พลังที่แฝงเร้นอยู่ในจิตสำนึก"
(รศ. วิวัฒน์ เตมียพันธุ์)
"cultural landscape"
"ท้องนา"
PADDY FIELD
"พักผ่อนหย่อนใจที่ น้ำพุร้อนแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง"
JAESON HOTSPRING , LAM PANG
วันที่สาม
๑๗.๐๗.๑๑
day 3
จากข้าวซอยและหมูสะเต๊ะ เปลี่ยนมาเป็นก๋วยเตี๋ยวหมูบะช่อใบตำลึง ณ ลำปาง
วันนี้เราต้องลา MR Palace โรงแรมที่ทำให้เรานอนหลับบ้างไม่หลับบ้าง ๒ คืน
"วัดปงสนุก จังหวัดลำปาง"
WAT PONG SANUK , LAM PANG
วัดปงสนุกเหนือ ที่ปัจจุบันเรียกว่าวัดปงสนุก วัดนี้เป็นวัดที่สี่ในจังหวัดลำปางที่มีลัทธิความเชื่อ
แบบลำปางแท้ ซึ่งแต่ก่อนวิหารของวัดแบบลำปางจะเป็นวิหารโถง หลังคาเตี้ย และไม่มีฝาผนัง
คล้ายกับวัดพระธาตุลำปางหลวง และวัดไหล่หิน ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบลำปางเช่นเดียวกัน
เมื่อมองจากทางด้านหน้าของวัด สิ่งที่สังเกตได้คือ ท้องฟ้าสีฟ้าสด ตัดกับกำแพงวัดสีขาว
ซึ่งกำแพงสีขาวนี้ มีการเล่นปริมาตรของบัว มีการเจาะช่อง ทำให้แสงเงามาตกกระทบ
เกิดปริมาตร ๓ มิติ ระหว่างบัว กับช่องว่าง ประตูทางเข้าที่ย่อมุม ไม่เข้าเส้นแกน แต่ลงตัว
ลายประดับต่าง ๆ ไม่มีการทาสี ทำให้เกิดความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติโดยไม่ได้ปรุงแต่ง
และเมื่อเดินจากทางด้านหน้าขึ้นบันไดสู่ตัววัด จะเกิด "ระนาบ และ texture" ๓ แบบ คือ
"หลังคากระเบื้อง กำแพงสีขาว และพื้นก่ออิฐไม่ฉาบปูน"
และเมื่อมองสุดไปทางเบื้องหลังกำแพงสีขาวของวัด จะเห็นทิวของต้นลีลาวดี
ช่วยขับให้ form อาคารโดดเด่น และร่มรื่นเพราะมีการใช้พืชพรรณเข้ามาช่วย
"วัดไหล่หินหลวง จังหวัดลำปาง"
WAT LAI HIN LUANG , LAM PANG
วัดที่ ๕ ในจังหวัดลำปาง เป็นวัดที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรม แบบล้านนาโบราณ
มีขนาดเล็ก แต่ให้ความรู้สึกโปร่ง เจดีย์ทรงลำปางอยู่ตรงกลาง และมีวิหารคดล้อมรอบ
ซุ้มประตูแบบปูนและไม้ ก่อขึ้นล้อรูปแบบของมณฑป ที่ไม่เรียบร้อย ไม่ปราณีตแต่งดงาม
และเมื่อเข้าประตูไปแล้ว ความรู้สึก เงียบ สงบก็เกิดขึ้น วิหารที่มีพระประทานอยู่ตรงกลาง
มีความสูงไม่มากนัก รอบข้างเป็นลานทรายเม็ดหยาบสีน้ำตาลอ่อน ล้อมด้วยวิหารคดสีขาว
หลังคากระเบื้องปีกไม้สีเข้ากัน ด้านหลังวิหารคดเป็นต้นโพธิ์ ที่ให้ความรู้สึกร่มรื่นและสงบ
"NATURAL MATERIAL"
พักกลางวัน ทานแคปหมูทอดร้อนๆ จิ้มน้ำพริกหนุ่ม กับขนมจีนน้ำเงี้ยว
"วัดพระธาตุลำปางหลวง"
WAT PHRA THAT LAM PANG LUANG
วัดที่ห้า วัดสุดท้ายในจังหวัดลำปาง เป็นพระธาตุประจำเมือง ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าฯเคยเสด็จ
ทางขึ้นพระธาตุเป็นบันไดที่มีความสูงชัน เนื่องจากคนพื้นเมืองในสมัยก่อน ทำเกษตรกรรม
ปลูกข้าวไร่อยู่บนป่าเขา จึงกลัวว่าน้ำจะท่วมพระธาตุ เมื่อขึ้นบันไดไปแล้วจะพบวิหารหลวง
มีการก่อมณฑปล้อเลียน ด้านในคือพระเจ้าล้านทอง และจากกำแพงด้านนอกที่มีความทึบ
เข้ามาด้านในเป็นวิหารที่มีความโปร่ง ทำให้เกิด space ที่มีการเชื่อมโยงเป็น flow of space
แบบไทย ชายคาที่ยื่นลงมาปิด เป็น timber construction หรือโครงสร้างไม้ ไม่ฉาบปูน
ลาจากลำปางกันด้วยรถม้า
วันที่สี่
๑๘.๐๗.๑๑
day 4
"สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี "
หลังจากที่เดินทางจากลำปางเข้าสู่เชียงใหม่ รถก็ได้แบ่งเป็นสองทาง คือ ทางถนนคนเดิน
และทางรถไฟ ( เนื่องจากรถอีกคันหนึ่งเสีย อีกคันเลยต้องไปเดินถนนคนเดินรอนั่นเอง )
และในเช้าวันนี้รถพาเราไปแวะที่ "กาดต้นพยอม" หรือตลาดต้นพยอม
เติมพลังด้วยมื้อเช้ากับโจ๊กต้นพยอม เจ้าเก่า ดั้งเดิม เตรียมลุยกับวันที่สี่
"ศูนย์การเรียนรู้เรือนไทยล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"
เป็นการรวบรวมเรือนไทยโบราณ และอนุรักษ์ไว้ เพื่อศึกษาถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของล้านนา
เรือนที่มีลักษณะเด่นคือ "เรือนไทลื้อ" โดยจะมีลักษณะยกใต้ถุนสูง แบ่งเป็นลาน หรือนอกชาน
ติดต่อกับบริเวณเอนกประสงค์ ซึ่งบริเวณนี้จะใช้เพดานเป็นที่เก็บของ (ฟั่น) โดยใช้บันไดติดผนัง
ในการปีนขึ้นไป ฝาของเรือนเป็นฝาไม้ มีบ่อน้ำ และยุ้งข้าวประจำเรือน ยุ้งข้าวจะยกสูงกว่าเรือน
"วัดพันเตา (พันเท่า) จังหวัดเชียงใหม่"
WAT PHAN TAO , CHIANG MAI
วิหารทรงพื้นเมือง แบบล้านนา ตั้งอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่
โครงสร้างเป็นไม้สักทั้งหลัง ภายในประดับประดาด้วยตุง
หลากสี ตามความเชื่อของชาวเมือง ด้านนอกเป็นลานทราย
บริเวณวัดประกอบด้วยเจดีย์ที่ทำจากไม้ไผ่สานซ้อนชั้นขึ้นไป
"วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่"
WAT CHEDI LUANG
วัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ใจกลางของเมืองเชียงใหม่
และเป็นเจดีย์หลวง ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัด
ซึ่งให้ความรู้สึกที่ใหญ่โต สงบ น่าเกรงขาม
พักดื่มน้ำแก้กระหาย และแก้ร้อน เนื่องจากท้องฟ้าโปร่ง จนอากาศร้อนเลยทีเดียว
"โรงแรมราชมรรคา จังหวัดเชียงใหม่"
RACHAMANKHA HOTEL , CHIANG MAI
โรงแรมราชมรรคา ตั้งอยู่ที่ ตำบลพระสิงห์ ซึ่งอยู่ในเขตเมืองเก่า จังหวัดเชียงใหม่
ออกแบบโดย อาจารย์องอาจ สาตรพันธุ์ ซึ่งมีแนวคิดมาจากวัดพระธาตุลำปางหลวง
ซึ่งเป็นวิหาร ที่มีการเชื่อมกัน โดยลานที่มีการปิดล้อมด้วยทางเดิน มีการยื่นชายคา
ทำให้เกิด Space ที่มีความโปร่งโล่งตามลักษณะของไทย โดยนำแนวความคิดนี้
มาใช้ โดยผสมผสานระหว่าง สถาปัตยกรรมไทย และความทันสมัย เข้าด้วยกัน
วิหารของพระธาตุ เปรียบเหมือนอาคารต่าง ๆ ของโรงแรม ได้แก่ อาคารต้อนรับ
อยู่บริเวณทางเข้าของตัวโรงแรม อาคาร Lobby ที่มีการ เปิดโล่ง และอาคารห้องพัก
อาคารทั้งหมดนี้ถูกเชื่อมด้วยลาน การจัดภูมิสถาปัตยกรรมไทยที่มีความเรียบง่าย
แต่สวยงาม และทางเดินที่โปร่งโล่ง คล้ายกับทางเดินของวัดพระธาตุ ลำปางหลวง
และเนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในภาคเหนือ ที่ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจีน
ผู้ออกแบบจึงสอดแทรกศิลปะและการตกแต่งแบบจีนเข้าด้วยกัน
เนื่องจากแนวคิดของโรงแรม ที่นำเอกลักษณ์ของวัดไทยล้านนา
และเอกลักษณ์ของอารยธรรมจีนมาออกแบบ โดยผสมผสานเข้า
กับความทันสมัย ดังนั้นวัสดุที่เลือกใช้จึงได้แก่ ผนังของโรงแรม
ที่ได้รับแนวคิดมาจากวัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นผนังปูนซีเมนต์
สีขาวแบบ ไม่ฉาบเรียบ เพื่อให้ได้ผิวสัมผัสแบบไทยล้านนา
หลังคาของโรงแรม เป็นกระเบื้องปีกไม้แบบไทย ประตู หน้าต่าง
และเฟอร์นิเจอร์ใช้ไม้ ทั้งแบบไทย และแบบจีน พื้นของอาคาร
เป็นกระเบื้องดินเผาสีส้มอิฐแบบไทยและเพิ่มความทันสมัยด้วย
พื้นทางเดินเป็นปูซีเมนต์เปลือยขัดมัน
วันที่ห้า
๑๙.๐๗.๑๑
day 5
มื้อเช้าที่กาดต้นพยอม ร้านโจ๊กต้นพยอม แต่คราวนี้ขอเป็นข้าวต้มบ้าง
"วันอินทราวาส (วัดต้นเกว๋น)"
WAT INTRAWAS , Chiang Mai
วัดโบราณแบบล้านนา เป็นวิหารที่มีหลังคาซ้อนชั้น ๓ ชั้น
ด้านนอกวิหารเป็นลานทรายซึ่งเป็นเอกลักษณ์แบบล้านนา
โดยรอบลานทรายเป็นวิหารคด และล้อมด้วยต้นไม้ใหญ่
จากการฟังบรรยายของ รศ.วิวัฒน์ เตมียพันธุ์ ได้ข้อสรุปได้ว่า
ความวิจิตร พิสดาร เป็นการเพิ่มมูลค่า (add dept vaule) จาก
ปัจจัยพื้นฐานของสถาปัตยกรรม คือ form และ function
"สถาปัตยกรรม คือการยึดครองพื้นที่
ชีวิต คือ space"
(อาจารย์ประถม)
"บ้านพื้นถิ่นแบบล้านนา จังหวัดเชียงใหม่"
Vernacular house , Chiang Mai
เมื่อเดินผ่านวัดต้นเกว๋นไปที่ด้านหลัง เราจะพบกับหมู่บ้านเล็กๆ
บ้านพื้นถิ่นที่ดูซ่อมซ่อ เนื่องจากไม่ได้่ผ่านการปรับปรุงซ่อมแซม
แต่ถ้าพิจารณาดูดีๆแล้ว บ้านหลังนี้เกิดจาก การรวมตัวกันของ
ระนาบ ที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน เพื่อกั้นพื้นที่ใช้สอยในแต่ละส่วน
ใต้ถุนที่มีความสูงไม่มากนัก แต่ก็พอที่จะ นั่งเล่น นอนเล่นได้
บันไดทางขึ้นบ้านที่มีขนาดเหมาะสมในการเดิน เมื่อเข้าไปแล้ว
จะพบทางเดิน ที่แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ฝั่ง ด้านหน้าเป็นพื้นที่
เอนกประสงค์ ตรงกลางกั้นเพื่อเป็นห้องนอน และด้านหลังคือ
พื้นที่ส่วนครัว ที่มีทางลาดลงไปที่หลังบ้าน เพื่อให้ขนของได้ง่าย
"สิ่งที่เป็นจุดเด่นในบ้านหลังนี้คือ การใช้วัสดุในการมุง
ที่เกิดเป็น effect ขึ้นในอาคาร ที่มีความงาม สามารถ
นำมาประยุกต์ใช้ ในสถาปัตยกรรม แบบสมัยใหม่ได้"
"หมู่บ้านพื้นถิ่นแบบล้านนา อำเภอลี้ จังหวัดเชียงใหม่"
Vernacular Village , Lee , Chiang Mai
วันนี้ล้อรถวิ่งแล้วหยุด วิ่งแล้วหยุด หลายรอบ เนื่องจากแวะตามหมู่บ้านพื้นถิ่น
หลายที่ หมู่บ้านพื้นถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ จะมีการคงไว้ซึึ่งเอกลักษณ์แบบล้านนา
โดยที่ไม่มีการปรับปรุง หรือต่อเติม ด้วยวัสดุใหม่ๆ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ส่วนใหญ่
ก็เป็นคนเฒ่าคนชรา ที่อยู่บ้านเพียงลำพัง เพราะลูกหลานต่างก็ไปทำงานในเมือง
จากการศึกษาหมู่บ้านพื้นถิ่น ที่เชียงใหม่นี้ เราได้ความรู้จากท่านอาจารย์ประถม
ในเรื่องของการปลูกเรือน ของชาวล้านนา ที่จะหันหน้าเรือนไปทางทิศเหนือ - ใต้
เพื่อให้ลมพัด มีการยกใต้ถุนสูงเพื่อกันน้ำท่วม มียุ้งข้าวทียกสูงเพื่อกันน้ำและแมลง
ในหมู่บ้านจะมี "ขวง" หรือแม่น้ำสายเล็ก ๆ ผ่านบ้านทุกหลัง เพื่อให้น้ำร่วมกัน
ในหมู่บ้านจะมี "ขวง" หรือแม่น้ำสายเล็ก ๆ ผ่านบ้านทุกหลัง เพื่อให้น้ำร่วมกัน
วัสดุต่างๆที่นำมาใช้ ส่วนมากจะเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
เกิดจากภูมิปัญญา ของชาวบ้าน ที่นำมาใช้ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย
และเรา ซึ่งเป็นสถาปนิกไทย ก็ย่อมที่จะ เห็นคุณค่าของสิ่งที่มี
อยู่ในท้องถิ่น มีอยู่ในบ้านเกิด แล้ว นำวัสดุนั้น มาปรับปรุง
ให้เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้มีความคงทนถาวรมากขึ้น
วันที่หก
๒๐.๐๗.๑๑
day 6
เช้าวันนี้เราเก็บของออกจากสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี ซึ่งนอนสบายมากๆ
เดินทางสู่จังหวัดสุโขทัย และที่ๆ เราแวะกันที่แรกก็คือ "ร้านโจ๊กต้นพยอม" เช่นเคย
หลังจากนั้น รถก็พาเรามุ่งหน้าเข้าสู่ อำเภอศรีสัชนาลัย ทุกคนในรถหลับๆตื่นๆ
"เอ๊าาาา ลงงงงง" เสียงที่คุ้นเคยมาเป็นเวลา ๖ วันก็ดังขึ้น เรารีบหยิบกล้องแล้วลงรถ
"หมู่บ้านพื้นถิ่นแบบภาคกลาง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย"
Vernacular Village ,Sisatchanalai , Sukhothai
หมู่บ้านแห่งนี้ เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ของภาคกลาง
ที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน ในอำเภอศรีสัชนาลัย
และได้ปรับปรุง ต่อเติม บ้านของตนเอง โดยใช้วัสดุ
ที่หาได้ในท้องถิ่นและวัสดุสมัยใหม่รวมกัน แต่ดูไม่ขัดกัน
วันที่เจ็ด
๒๑.๐๗.๑๑
"เขื่อนสรีดภงค์ และอุทยานประวัติศาสตร์ จังหวัดสุโขทัย"
เช้าวันนี้เราออกเดินทางไป วัดมหาธาตุ และวัดพายหลวง แต่ก่อนจะถึงจึงแวะที่
เขื่อนสรีดภงค์ อ่างเก็บน้ำที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน จนนำมาใช้ถึงปัจจุบัน
วัดมหาธาตุ และวัดพระพายหลวง ตั้งอยู่ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่ในอดีตเคยที่ความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา เศรษฐกิจ
ในอุทยานมีสถานที่สำคัญที่เป็นพระราชวัง โดยวัดมหาธาตุ เป็นวัดสำคัญของเมือง
มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นเจดีย์ประทานของวัด ซึ่งบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ
รอบๆอุทยาน แวดล้อมไปด้วยคูน้ำและต้นไม้ใหญ่ แสดงถึงการป้องกันเมืองในอดีต
"วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย"
WAT SRI CHUM , SUKHOTHAI
เป็นวัดที่มีกำแพง 2 ชั้นมีบันไดเป็นขั้น ๆ ขึ้นสู่ยอดมณฑปได้
มีทางเข้าทั้ง ด้านซ้าย และ ด้านขวา แต่ทางด้านซ้ายเท่านั้น
ที่เข้าไปได้ถึงช่องลมด้านข้างและช่องหลังพระเศียรพระพุทธรูป
"บ้านคุณยายปิ่น สีชอล์ค จังหวัดสุโขทัย"
นางปิ่น สีชอล์ค
อาศัยอยู่ในบ้านไม้ ทรงไทยพื้นถิ่นของภาคกลางเพียงคนเดียว
ทุกวันนางปิ่นจะต้มข้าวด้วยเตาถ่าน เพื่อรอกับข้าวจากลูกหลาน
ที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ภายในบ้านนางปิ่น ไม่มีการ
กั้นห้อง มีแต่การแบ่งพื้นที่เป็นส่วนเอนกประสงค์ ครัว และห้องน้ำ
และสิ่งน่าทึ่งก็คือ ความสะอาดของบ้าน ที่มองไม่เห็นแม้แต่ฝุ่น
"แต่ก่อนทำนา เดี๋ยวนี้ทำไม่ไหว หุงข้าว ก็ทำมันไปทุกวัน จนกว่าจะทำไม่ไหว"
คุณยายปิ่นพูดเมื่อเราเข้าไปกระซิบถาม
วันที่แปด
๒๒.๐๗.๑๑
day 8
"โรงแรมสุโขทัย เฮอริเทจ รีสอร์ท"
SUKHOTHAI Heritage Resort
SUKHOTHAI Heritage Resort
เนื่องจากบันทึกเป็นวีดีโอไว้ตลอด จึงต้องขอให้ชมเป็นภาพบรรยากาศดีกว่าค่ะ
"วัดพระศรีมหาธาตุราชวรมหาวิหาร จังหวัดสุโขทัย"
ที่วัดนี้ เราได้ความรู้ด้านการนำสภาพแวดล้อมที่มีอยู่โดยรอบ มาประยุกต์ ดัดแปลง
ให้เข้ากับสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งธรรมชาติที่มีอยู่นี้ เป็นข้อดี ที่เราควรอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง
วันนี้เราเริ่มที่จะถ่ายรูป คน + สถาปัตยกรรม
เนื่องจากชอบถ่ายรูปคนเป็นชีวิตจิตใจ และ
รองเท้าที่สมบุกสมบันมานาน ๗ วันก็ขาดไป
จึงไม่ได้บุกป่าฝ่าดงอย่างวันที่ผ่านๆ มา
วันสุดท้าย...
๒๓.๐๗.๑๑
Last day...
วันสุดท้าย เราเก็บกระเป๋าแล้วบอกลากับเจ้าเสือที่โรงแรมสวัสดิพงษ์
"วัดราชบูรณะ จังหวัดพิษณุโลก"
ล้อหมุนออกจากจังหวัดสุโขทัย รถบัสแล่นเข้าสู่จังหวัดพิษณุโลก
ทุกคนลงไปไว้พระ ทำบุญร่วมกัน แล้วจึงเดินศึกษาสถาปัตยกรรม
ของวัดราชบูรณะ ในวัดนี้เราได้ทดสอบการใช้แสงเงา โดยที่ท่าน
อาจารย์จิ๋ว ขอให้ทางวัดปิดไฟ เพื่อที่จะได้เห็นแสงที่ส่องผ่านเข้ามา
อย่างเป็นธรรมชาติที่สุด
"วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก"
เป็นวัดที่มีความสวยงาม ทั้งภายนอก ที่มีการจัด landscape การจัด court ซับซ้อนแต่ลงตัว
ทั้งภายในที่มีการประดับประดา ทั้งการใช้สีแดง และการปิดทอง ทำให้พระพุทธรูปเด่นชัด
เป็นนี้วัดสุดท้ายแล้ว... เราเขียนจนจำไม่ได้แล้วว่าเป็นวัดที่เท่าไหร่ของการมาทริปนี้
แต่สิ่งที่จะจดจำไว้ก็คือ ความรู้ การรู้จักสำนึกในรากเหง้าของตน และความสนุกสนาน
ที่ไม่คิดว่าจะหาประสบการณ์ดีๆแบบนี้ได้จากที่ไหนอีก นอกจากที่สถาปัตย์ฯ ลาดกระบัง